Kyoto Styudy

สำหรับผู้ที่สนใจมาศึกษาต่อที่ญี่ปุุ่น สำหรับนักศึกษาต่างชาติในเกียวโต

STUDY KYOTO MAGAZINE

การเตรียมตัวสอบ JLPT จากประสบการณ์ของนักศึกษาต่างชาติ

สเต็ปที่ 2: รู้จักจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง

ในการเตรียมตัวสอบนั้น สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากคือการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง เพื่อให้เข้าใจว่าจุดไหนที่เราจำเป็นต้องทุ่มเทมากเป็นพิเศษ ในตารางด้านล่างนี้ เป็นการวิเคราะห์จุดอ่อนและสาเหตุที่มักจะพบได้บ่อย ๆ ในข้อสอบแต่ละส่วน รวมถึงแนวทางในการแก้ไขค่ะ

วิชา สาเหตุที่เป็นจุดอ่อน แนวทางแก้ไข แอปพลิเคชันและเอกสารแนะนำ
ความรู้ทางภาษา ได้แก่ คันจิ คำศัพท์ และไวยกรณ์ ไม่คุ้นเคยกับความหมายและการใช้งานของคำศัพท์ ฝึกทำข้อสอบและหมั่นฝึกฝนซ้ำ ๆ พจนานุกรม:

Imiwa, goo辞書 (ระดับสูง)
การ์ดช่วยจำ:

Memrise, Quizlet

การอ่าน ไม่คุ้นเคยกับภาษาเขียนและวิธีการเขียนภาษาญี่ปุ่น อ่านหนังสือและหนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น หนังสือพิมพ์:

NHK, Nikkei Shimbun

, Kyoto Shimbun

, NHK Web Easy (ระดับเริ่มต้น)

แอปพลิเคชัน E-book:

Kindle, Apple Books

การฟัง ไม่คุ้นเคยกับความเร็วและศัพท์ในบทสนทนาตามปกติ ดูหนังและละครภาษาญี่ปุ่น

ฟังข่าวและเพลง

อ่านซับไตเติลภาษาญี่ปุ่น

ช่องข่าว YouTube:
ANNnewsCH, FNNプライムオンライン
YouTuber:
HikakinTV, はじめしゃちょー
Podcast:
NHK News

สเต็ปที่ 3: วางแผนและลงมือทำ

เวลาในการเตรียมตัวสอบนั้นแตกต่างกันไปตามผู้สอบแต่ละคนและระดับข้อสอบที่จะสอบ จากประสบการณ์ของฉัน การเตรียมตัวสอบ N3 ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน และเตรียมสอบ N2 ด้วยเวลาเท่า ๆ กัน การเตรียมตัวสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ “การฝึกฝนด้วยเอกสารใหม่” กับ “การทบทวนและฝึกทำข้อสอบ” ซึ่งฉันอธิบายรายละเอียดที่ฉันเตรียมตัวไว้ด้านล่างนี้ แต่การวางแผนการฝึกฝนให้เข้ากับจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละคนสำคัญมาก ดังนั้น ลองปรับตารางการฝึกให้เข้ากับเป้าหมายและประเด็นที่แต่ละคนจำเป็นต้องพิชิตนะคะ

 

การฝึกฝนด้วยเอกสารใหม่ (ประมาณ 3-4 เดือน)

การฝึกฝนช่วงแรกของฉันใช้เวลาโดยประมาณ 3-4 เดือนค่ะ การจำความรู้ทางภาษาทั้งคันจิ คำศัพท์ และไวยกรณ์ ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร ช่วงเริ่มต้นจึงควรพยายามทำให้เป็นกิจวัตรเพื่อให้การเตรียมตัวเป็นไปอย่างราบรื่น ตอนที่ฉันเริ่มเตรียมตัว ฉันพยายามอ่านหนังสือให้ได้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที และทำจนเป็นกิจวัตร เริ่มโดยที่ไม่ฝืนกำลังตัวเอง พอทำสม่ำเสมอก็จะค่อย ๆ รู้สึกว่าตัวเองพัฒนาขึ้นค่ะ

ด้านล่างนี้เป็นหนังสือเตรียมสอบที่ฉันอยากแนะนำ โดยแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาแตกต่างกันตามวิชาที่สอบ ได้แก่ คันจิ คำศัพท์ และการอ่าน อีกทั้งยังมีโจทย์ในแต่ละวิชารวมอยู่ด้วย หากใช้ทั้งเซ็ตนี้ก็คิดว่าน่าจะฝึกได้ทั้งหมดค่ะ โดยหนังสือเตรียมสอบ JLPT ทั้ง 3 เล่มด้านล่างนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ฉันคิดว่าน่าจะมีอยู่ในห้องสมุดของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือไม่ก็ตามร้านขายหนังสือมือสองนะคะ โดยเล่มที่ฉันใช้บ่อยมากก็คือ “Mimi kara oboeru” และ “Shin-Kanzen Master”

  • Mimi kara oboeru Nihongo Nouryoku Shiken
  • Shin-Kanzen Master
  • Nihongo Nouryoku Shiken Tettei Toreeningu

 

การทบทวนและฝึกทำข้อสอบ (ประมาณ 2 เดือน)

เพื่อให้เราคุ้นชินกับข้อสอบจริงนั้น การทบทวนและฝึกทำข้อสอบเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยค่ะ ก่อนสอบประมาณ 2 เดือน การฝึกรับมือกับความกดดันเรื่องเวลาสอบเป็นสิ่งสำคัญ การฝึกทำข้อสอบเสมือนจริงจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง ดังนั้น เราจำเป็นต้องแบ่งเวลาสำหรับการฝึกทำข้อสอบอย่างเหมาะสม เราไม่สามารถจดจำคำศัพท์ทุกคำได้ ถึงแม้ว่าจะพยาพยามจำก็ไม่ได้หมายความว่าจะจำได้ในทันทีทันใด การทำข้อสอบให้ได้ผลดีจึงจำเป็นต้องฝึกทำโจทย์เก่าซ้ำ และแก้โจทย์ที่ไม่เข้าใจไปทีละข้อ

ตัวอย่างข้อสอบมีเยอะมากเลยนะคะ เราสามารถใช้ search engine ค้นหา โดยใส่ keyword “JLPT (ระดับ) +問題集” (เช่น JLPT N2 問題集) ก็จะเจอตัวอย่างข้อสอบมากมายเลยค่ะ โจทย์ในข้อสอบ JLPT มีอยู่ในเวปไซต์ทางการด้วย สามารถเข้าไปดูได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้นะคะ

 

ตัวอย่างข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นบนเวปไซต์ JLPT

https://www.jlpt.jp/e/samples/sampleindex.html

ข้อความฝากถึงผู้ที่กำลังจะสอบ JLPT

มีคำกล่าวว่า “ร่างกายที่แข็งแรงเป็นที่มาของจิตใจที่เข้มแข็ง” ในช่วงเตรียมตัวสอบนั้น ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม แต่ละคนมีกำหนดการสอบ JLPT เมื่อไหร่กันบ้างคะ Study Kyoto ขอส่งแรงใจให้ทุกคนสอบผ่านเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายในอนาคตต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ สู้ ๆ นะคะทุกคน

 

(ผู้เขียน: NGO Phuong Anh มหาวิทยาลัยโดชิชะ)

บทความยอดนิยมPopular Articles

Categoryหมวดหมู่

Popular Articles บทความยอดนิยม

Categoryหมวดหมู่