Kyoto Styudy

สำหรับผู้ที่สนใจมาศึกษาต่อที่ญี่ปุุ่น สำหรับนักศึกษาต่างชาติในเกียวโต

STUDY KYOTO MAGAZINE

คณะการ์ตูนมังงะของมหาวิทยาลัย Kyoto Seika ที่มีอิสระและอินเตอร์เป็นอย่างไร?

คณะการ์ตูนมังงะของมหาวิทยาลัย Kyoto Seika ที่มีอิสระและอินเตอร์เป็นอย่างไร?

เมื่อพูดถึง “มหาวิทยาลัยในเกียวโต” ทุกคนคิดถึงอะไรกันนบ้างครับ
ที่เกียวโตมีมหาวิทยาลัยอยู่หลายแห่ง และ “เมืองวัฒนธรรม” แห่งนี้ก็มีมหาวิทยาลัยด้านศิลปะอยู่จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว แต่มหาวิทยาลัยด้านศิลปะเค้าเรียนอะไรกัน สงสัยกันมั้ยครับ
ครั้งนี้ Study Kyoto ได้พูดคุยกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Kyoto Seika ซึ่งตั้งอยู่ในเขต Sakyo เมืองเกียวโต และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในญี่ปุ่นที่เปิด “คณะการ์ตูนมังงะ” ขึ้นเมื่อปี 2006 ครับ

การเรียนการ์ตูนอนิเมชั่นในมหาวิทยาลัย

seika2

ในครั้งนี้ Study Kyoto จะพาไปทำความรู้จักกับคุณอุเอมิ นักศึกษาต่างชาติจากประเทศจีน ปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรการ์ตูนอนิเมชั่น สาขาการ์ตูนอนิเมชั่น คณะการ์ตูนมังงะ

คุณอุเอมิเริ่มจากการแนะนำห้องเรียนที่เธอใช้เป็นประจำให้เรารู้จักกันก่อนครับ

คุณอุเอมิ : ห้องเรียนของสาขาการ์ตูนอนิเมชั่น คณะการ์ตูนมังงะอยู่ในชั้น 1 ถึงชั้น 3 ของอาคารเรียน Taiho-kan เป็นอาคารที่ตั้งอยู่ใจกลางของมหาวิทยาลัยค่ะ และในอาคาร Taiho-kan นี้ก็ยังมีห้องเรียนของสาขาการ์ตูนมังงะ ซึ่งเป็นอีกสาขาวิชาหนึ่งในคณะการ์ตูนมังงะ และมีห้องเรียนของคณะศิลปศาสตร์รวมอยู่ด้วย

seika3

คุณอุเอมิแนะนำห้องเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ให้เราชมครับ

นักเรียนแต่ละคนจะมีโต๊ะเรียนของตัวเองด้วย

seika4

คุณอุเอมิ : อันนี้เป็นอุปกร์สำหรับทำอนิเมชั่น เรียกกว่า “กล่องไฟ” ค่ะ ตอนนี้ฉันกำลังทำการบ้านของวิชาที่เรียนอยู่ เป็นการสร้าง “การเคลื่อนไหว” โดยเทคนิคที่เรียกว่า “การแทรกเฟรม”

การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการแทรกเฟรมนั้น ถูกกำหนดโดยภาพในเฟรมหลัก (ภาพตอนเริ่มขยับและตอนสิ้นสุด ซึ่งเป็นภาพที่กำหนดตำแหน่งหลักของการเคลื่อนไหว) ซึ่งในการบ้านครั้งนี้ นักเรียนจะเป็นคนตัดสินใจเองว่าภาพที่จะนำไปแทรกในเฟรมหลักนั้นจะใช้กี่แผ่น บางคนอาจใช้ 16 แผ่น หรือในขณะที่บางคนอาจใช้ถึง 25 แผ่นก็มีนะคะ ส่วนฉันเลือกที่จะใช้ 19 แผ่นค่ะ

พอนำภาพที่ใช้แทรกเฟรมมารวมกัน แล้วทำให้เคลื่อนไหว ก็จะได้ผลงานออกมาเป็นแบบนี้

ทีมงาน : ว้าว น่าทึ่งมากเลยครับ

คุณเอมิ : นี่เป็นการทำงานพื้นฐานของการทำการ์ตูนอนิเมชั่นค่ะ

ในการสร้างอนิเมชั่นจริง ๆ นั้น จะมีนักสร้างการ์ตูนอนิเมชั่น หรือ อนิเมเตอร์รับผิดชอบในกระบวนการสร้างในแต่ละขั้นตอนแยกกัน ตั้งแต่การสร้างเฟรมหลัก การทำเฟรมแทรก รวมไปถึงผู้กำกับผลงานอนิเมชั่นแต่ละชิ้นด้วย

การทำอนิเมชั่นจะเริ่มจากผู้กำกับกำหนดให้นักวาดเฟรมหลักวาดฉากต่าง ๆ ตามที่ผู้กำกับต้องการ และนักวาดเฟรมแทรก ก็จะทำเฟรมแทรกตามเฟรมหลักนั้น แล้วผู้กำกับจึงจะปรับแก้ผลงานทั้งชิ้นอีกครั้งหนึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย

 

“Gwasendo” ร้านขายอุปกรณ์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะโดยเฉพาะ

seika6

เราเดินต่อไปยังอาคารหลักของมหาวิทยาลัย และได้พบกับที่ซึ่งดูเหมือนร้านขายของ จึงได้ลองแวะเข้าไป

ทีมงาน : มีกาชาปองที่มีเคยเห็นอยู่ตรงนี้ด้วยครับ!

คุณอุเอมิ : คุณซื้อฟิกเกอร์ “Coppu-no-Fuchiko-san” (คุณฟุจิโกะบนแก้ว) ที่นี่ได้นะคะ ฟิกเกอร์เหล่านี้มีออกแบบในรูปแบบสามมิติอย่างละเอียด จึงเป็นประโยชน์กับการเขียนภาพมากเลยค่ะ คุณคัทสึกิ ทานากะ ผู้ออกแบบฟิกเกอร์ Coppu-no-Fuchiko-san ก็จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Kyoto Seika แห่งนี้ค่ะ และปัจจุบันยังเป็นอาจารย์รับเชิญของมหาวิทยาลัยอีกด้วยนะคะ

ตู้กาชาปองนี้ตั้งอยู่หน้าสาขาในมหาวิทยาลัย Kyoto Seika ของร้านที่มีชื่อว่า “Gwasendo” ซึ่งเป็นร้านขายอุปกรณ์สำหรับวาดภาพที่มีประวัติยาวนานกว่า 100 มีอุปกรณ์เครื่องเขียนครบครันสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยด้านศิลปะ

seika7

คุณอุเอมิ : นี่คือกระดาษสำหรับทำภาพเคลื่อนไหวที่ฉันพูดถึงเมื่อสักครู่นี้ค่ะ ราคาแผ่นละ 6 เยน ต้องใช้อย่างประหยัดเลยนะคะ (หัวเราะ)

seika8

คุณอุเอมิ : ที่นี่มีกระดาษหลายชนิดเลยนะคะ การสร้างผลงานศิลปะต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่กระดาษเลยค่ะ

seika9

คุณอุเอมิ : ที่นี่มีทั้งหนังสือด้านศิลปะ หนังสือเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์และสัตว์ หนังสือท่องเที่ยวต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นหนังสือมีประโยชน์กับการวาดรูปมากค่ะ พวกหนังสือออกใหม่ นิตยสารต่าง ๆ ก็มีเหมือนกันนะคะ ที่ออกจะแปลกไปสักหน่อยคงจะเป็นพวกหนังสือวารสารการ์ตูนรายสัปดาห์จำนวนมาก ที่ทุกสัปดาห์ทุกคนจะปรี่มาซื้อกันค่ะ (หัวเราะ)

บทความยอดนิยมPopular Articles

Categoryหมวดหมู่

Popular Articles บทความยอดนิยม

Categoryหมวดหมู่