ข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) คืออะไร? จะพิชิตได้ยังไง?
2017.01.06
หากคุณมีแผนที่จะหางานในญี่ปุ่นหลังจากเรียนจบ การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น JPLT(Japanese-Language Proficiency Test) ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย ในเว็ปไซต์หางานอย่าง CareerCross หรือ Daijob ซึ่งเน้นงานหลายภาษา บริษัทส่วนใหญ่ต้องการคนที่ความสามารถภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วหรือสื่อสารในระดับธุรกิจได้ แน่นอนว่าการแสดงความสามารถทางภาษาออกมาตรงๆก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่ทางบริษัทไม่สามารถวัดระดับความสามารถทางภาษาของเราได้จากใบสมัคร หากจะวัดจากเวลาที่เรียนอย่างเดียวก็คงจะเป็นเรื่องยาก การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในที่นี้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยญี่ปุ่นก็ยังใช้การสอบนี้เพื่อวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาต่างชาติอีกด้วย
เกี่ยวกับการสอบ
ส่วนใหญ่แล้วจะใช้การสอบวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่น JLPT เป็นมาตรฐาน การสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ระดับตั้งแต่ N5(ง่ายสุด) ไปจนถึง N1(ยากสุด) บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่แล้วต้องการผู้ที่ผ่านการสอบในระดับ N2 แต่บางบริษัทก็รับเฉพาะผู้ที่ผ่านระดับ N1
ความสามารถในแต่ละระดับ
N5 – เข้าใจภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน (คาตากานะ, ฮิรากานะ, คันจิ)
N4 – เข้าใจการพูดคุยด้วยภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน
N3 – เข้าใจและคุ้นชินกับภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน
N2 – เข้าใจภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันในหลายๆสถานการณ์
N1 – เข้าใจภาษาญี่ปุ่นในหลายๆสถานการณ์
การสอบวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือการอ่าน การฟัง หลักภาษา และ คำศัพท์ โดยจะไม่มีการสอบการพูดหรือการเขียนคันจิ แต่มีการสอบเลือกคันจิที่ถูกต้องจากคันจิที่คล้ายๆกันหลายๆตัว
คุณสามารถเข้าสอบได้ทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่น โดยจะมีการจัดสอบขึ้นทั้งหมดปีละ 2 รอบ ในช่วงต้น ก.ค. และ ต้น ธ.ค. การสอบนอกประเทศญี่ปุ่นนั้นสามารถทำได้เพียงปีละครั้ง รายละเอียด สถานที่ วันเวลาสอบสามารถตรวจสอบได้ที่เว็ปไซต์ JLPT : https://www.jlpt.jp/e/application/overseas_list.html
ในทางทฤษฎีแล้วคุณสามารถสอบกี่รอบก็ได้(ต้องเสียค่าสอบ) เพียงแค่ตรวจสอบข้อมูลในเว็ปไซต์และสมัครก่อนเวลาที่กำหนด
ควรเตรียมความพร้อมมากแค่ไหน?
มีคำพูดที่ว่า “ไม่ว่าจะเตรียมตัวมากแค่ไหนก็ไม่มีคำว่ามากเกินไป” ซึ่งโดยปกติแล้วก็คงไม่มีใครคาดหวังว่าจะผ่านการสอบได้โดยที่ไม่ต้องเตรียมตัว ถึงแม้การสอบนี้จะเป็นการสอบวัดระดับทางภาษาแต่การลองทำข้อสอบในรูปแบบเดียวกันก่อนก็เป็นวิธีการเตรียมตัวที่ดี การทำข้อสอบเก่า หรือทำแบบฝึกหัดที่มีรูปแบบคล้ายๆกันไปเรื่อยๆก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์