Kyoto Styudy

สำหรับผู้ที่สนใจมาศึกษาต่อที่ญี่ปุุ่น สำหรับนักศึกษาต่างชาติในเกียวโต

STUDY KYOTO MAGAZINE

คำแนะนำ 3 เรื่อง สำหรับนักเรียนต่างชาติที่ต้องการประสบความสำเร็จในการสอบเพื่อศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น หรือ EJU

คำแนะนำ 3 เรื่อง สำหรับนักเรียนต่างชาติที่ต้องการประสบความสำเร็จในการสอบเพื่อศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น หรือ EJU

สวัสดีค่ะทุกคน
ฉันเป็นนักเรียนจากประเทศจีนค่ะ ฉันเดินทางมาที่ญี่ปุ่นหลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเริ่มเรียนในโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นเป็นเวลาหนึ่งปี และเรียนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเป็นเวลาหนึ่งปี ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย Doshisha ค่ะ ฉันมีประสบการณ์การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่จีน 1 ครั้ง และสอบ EJU (Examination for Japanese University Admission for International Students) 3 ครั้ง โดยใช้เวลาตลอด 3 ปี ทุ่มเทเพื่อที่จะเข้าเรียนในมหาวิทลัยที่ฉันใฝ่ฝันไว้ค่ะ
ฉันสามารถพูดได้อย่างมั่นใจเลยว่า “ฉันเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การสอบเข้ามหาวิทยาลัย” ค่ะ
การสอบเพื่อศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น หรือ EJU จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกจัดสอบในเดือนมิถุนายน และครั้งที่สองจัดสอบในเดือนพฤศจิกายน ข้อสอบ EJU มีด้วยกันทั้งหมด 3 หมวดวิชา สำหรับนักเรียนสายวิทยาศาสตร์จะมีข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาญี่ปุ่น และวิทยาศาสตร์ (เลือก 2 วิชาจากฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา) ส่วนนักเรียนสายสังคมศาสตร์จะมีข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาญี่ปุ่น และวิชาความรู้ทั่วไป (เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เป็นต้น) วิชาภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์จะเป็นข้อสอบเดียวกัน แต่สำหรับวิชาคณิตศาสตร์นั้น ขอบเขตคำถามของนักเรียนสายวิทยาศาสตร์จะกว้างกว่าคำถามของสายสังคมศาสตร์ ฉันคิดว่าวิธีการเตรียมตัวสอบของฉันน่าจะเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ คน เลยจะมาเล่าเกี่ยวกับการเตรียมตัวรวมถึงคำแนะนำสำหรับการสอบให้ทุกคนฟังค่ะ

ไม่ “ผลัดวันประกันพรุ่ง”

eju1

1กำหนดเป้าหมายตั้งแต่ตอนนี้เลยค่ะ

หากเราไม่มีเป้าหมาย เราก็จะไม่สามารถเตรียมตัวได้ค่ะ แต่สำหรับคนที่พึ่งเริ่มเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างพวกเรา การตัดสินใจตั้งเป้าหมายอย่างฉับพลันทันด่วนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ฉันจึงแนะนำให้เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลของมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งมาไว้ก่อนค่ะ

สำหรับฉันที่เป็นนักเรียนสายวิทยาศาสตร์ ฉันหาข้อมูลเกี่ยวเกี่ยวกับห้องทดลองของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง และดูว่าแต่ละแห่งทำวิจัยเรื่องอะไรกันบ้าง แล้วจึงเลือกมหาวิทยาลัยที่น่าสนใจเรียงไว้ตามลำดับค่ะ

หลังจากนั้น เราก็ดูรายละเอียดการรับสมัครนักเรียนต่างชาติของมหาวิทยาลัยที่เราเลือกไว้ (หากไม่มีรายละเอียดของปีปัจจุบัน ก็สามารถอ้างอิงข้อมูลของปีที่ผ่านมาแล้วได้เช่นกัน) และจดบันทึกไว้ว่าแต่ละหมวดวิชานั้น ต้องใช้คะแนนในการสอบเท่าไหร่ คะแนนสอบภาษาอังกฤษก็จำเป็นเช่นเดียวกันค่ะ แต่ละมหาลัยมีข้อกำหนดแตกต่างกันเกี่ยวกับคะแนนสอบ TOEIC, TOFEL, IELTS จึงต้องอ่านรายละเอียดให้ดี แต่รายละเอียดที่กำหนดไว้นั้นมักจะเป็นคะแนนต่ำสุดสำหรับการสมัคร ซึ่งราควรมีเป้าหมายในการทำคะแนนสอบให้ได้สูงกว่าที่กำหนดไว้นะคะ พูดได้ว่าทั้งในการเลือกมหาวิทยาลัยและการทำคะแนนสอบนั้น เราต้องกำหนดเป้าหมายให้สูงกว่าความสามารถของเราไว้เล็กน้อยค่ะ

 

สุดท้าย คือการเรียบเรียงข้อมูลเหล่านั้นใหม่อีกครั้ง และหากเป็นไปได้ก็ทำเป็นตารางเลยค่ะ ปริ๊นท์ตารางนั้นออกมาแล้วแปะไว้ในบ้าน ตรงที่ที่เราจะเห็นได้บ่อย ๆ ในประเทศจีนเรามีคำกล่าวว่า “จงอย่าหลงลืมความตั้งใจแรก” ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็ตาม เราต้องก้าวไปข้างหน้าโดยที่ไม่ลืมเป้าหมายที่เราตั้งไว้ในตอนแรกนะคะ

 

 

2.เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้เลยค่ะ

หลายคนคงสงสัยว่า เมื่อเรามีเป้าหมายแล้วจะทำอย่างไรให้เราเข้าใกล้เป้าหมายของเราได้ใช่มั้ยคะ

อย่างแรกเลย เราต้องดูข้อสอบเก่าก่อนค่ะ

หากเราลองค้นในเวปไซต์อย่างเช่น Amazon ด้วยคำว่า “การสอบเพื่อศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น หรือ EJU” ก็จะเจอหนังสือมากมายเลยค่ะ เมื่อเราลองทำข้อสอบในหนังสือเหล่านี้แล้วจำนวนนึง เราก็จะมองเห็นระดับความยากของข้อสอบ โครงสร้างข้อสอบ รวมถึงความรู้ที่จำเป็นในการสอบ สิ่งเหล่านี้ทำให้เรารู้ว่าจุดอ่อนของเราอยู่ตรงไหน หรือมีประเด็นไหนที่เรายังไม่ได้เตรียมตัว และเมื่อรู้จุดอ่อนนั้นแล้ว เราก็หาหนังสืออ้างอิง (เช่น หนังสือเรียนมัธยมของญี่ปุ่น) มาเพื่อเอาชนะจุดอ่อนนั้นค่ะ

การอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบเป็นสิ่งสำคัญ แต่การมีประสบการณ์ทำข้อสอบก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างนะคะ ฉันแนะนำให้ทุกคนสมัครสอบทั้งข้อสอบ EJU และข้อสอบภาษาอังกฤษให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การสอบเพียงครั้งเดียวที่กำหนดอนาคตข้างหน้าของเราถึงสี่ปีนั้น นับเป็นความเครียดไม่น้อยเลยจริงมั้ยคะ หลายมหาวิทยาลัยกำหนดให้คะแนนสอบมีอายุ 1 ปี (บางแห่งอาจมีอายุถึง 2 ปี) ดังนั้น เราควรสมัครสอบเรื่อย ๆ เพื่อที่เราจะได้คุ้นเคยกับการแบ่งเวลาทำข้อสอบและคุ้นเคยกับบรรยากาศการสอบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการสอบในครั้งต่อ ๆ ไปของเราแน่นอนค่ะ

 

 

3. เริ่มพยายามตั้งแต่ตอนนี้เลยค่ะ

ตอนที่ฉันรู้ผลสอบว่าฉันได้คะแนนไม่ดีนัก ฉันเฝ้าบอกกับตัวเองว่า “ถ้าฉันพยายามตั้งแต่ตอนนี้ ยังไงครั้งหน้าก็น่าจะได้คะแนนดีขึ้น” แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลที่ออกมากลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด

สาเหตุมาจากการที่ฉันเสียความตั้งใจไปนั่นเอง

ความคิดที่ว่า “วันนี้ขอพักสักหน่อย พรุ่งนี้ค่อยพยายามใหม่” แบบนี้อันตรายมากนะคะ สายน้ำไม่คอยท่า กาลเวลาไม่คอยใคร ดังนั้น ถ้าหากจะพยายามแล้วล่ะก็ ต้องเริ่มลงมือตั้งแต่ตอนนี้เลยค่ะ

สิ่งสำคัญก็คือ การวิเคราะห์หาสาเหตุความผิดพลาด แล้ววางแผนการเตรียมตัวที่เหมาะสม จากนั้นจึงลงมือทำอย่างจริงจัง เราอาจมองไม่เห็นความก้าวหน้าในระยะเวลาสั้น ๆ แต่เราต้องไม่ย่อท้อจนกว่าเราจะสอบผ่าน หากเรามีความมุ่งมั่นเช่นนี้อยู่ตลอดเวลาแล้ว คะแนนสอบของเราก็จะดีขึ้นอย่างแน่นอน

ลองทำสมุดโน๊ตรวมคำถามแบบเฉพาะตัวดูนะคะ

หลายคนคงเตรียมตัวสอบโดยการทำข้อสอบเก่าหรือหนังสือรวมโจทย์ข้อสอบใช่มั้ยคะ แต่การทำข้อสอบโดยการตอบคำถาม และตรวจคำตอบตามเฉลย แล้วเริ่มทำคำถามใหม่แบบนี้ อาจไม่ใช่แนวทางที่ดีเสมอไป

ฉันคิดว่าหลังจากเราตรวจคำตอบจากเฉลยแล้ว เราต้องกลับมาดูคำถามที่เราตอบผิดด้วยค่ะ ตรวจทานว่าเราลืมสูตรหรือหลักการเรื่องอะไรไป แล้วลองหาข้อสอบที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันมาทดลองทำอีกหลาย ๆ ข้อ

หลังจากนั้น ฉันแนะนำให้ลองทำสมุดโน๊ต “รวมคำถามที่ตอบผิด” ฉบับพิเศษขึ้นมา (หรืออาจใช้ชื่ออ่านก็ได้นะคะ) เขียนคำถามและคำตอบของตัวเองด้วยปากกาสีดำ (หรือจะปริ๊นท์ออกมาแปะไว้ก็ได้ค่ะ) และใช้ปากกาแดงเขียนส่วนที่ผิด คำตอบที่ถูกต้อง รวมถึงหลักการต่าง ๆ โดยแยกสมุดโน๊ตแต่ละเล่มตามรายวิชาค่ะ ข้อผิดพลาดในการสอบก็เป็นสิ่งสำคัญค่ะ ลองจดเอาไว้ในสมุดโน๊ตแบบนี้ดูนะคะ

eju2

 

บทความยอดนิยมPopular Articles

Categoryหมวดหมู่

Popular Articles บทความยอดนิยม

Categoryหมวดหมู่